ร้าน ตู่ สาละวิน
www.tousarawin.99wat.com
086-921-0443
tou​salawin​
บริการแบบมิตร เน้นความจริงใจ ต่อกัน .. วัตถุมงคลทุกชิ้น ล้วนมาจากบ้านๆ.. ทุกชิ้น​ ล้วนผ่านการพิจารณาเป็นอย่างดี​ ก่อนลงเสนอ​ รับประกันความเก่าแท้ 100% . . รับประกัน​ความ​พอใจ​ และ​ เก่าแท้​ ภายใน​ 7วัน ​ตั้งแต่​ รับของ​ หากตรวจ​สอบว่าไม่แท้​.. ยินดี​คืนเงิน​เต็ม​ จำนวน​ ในระยะเวลาที่กำหนด.. ​✨✨"รูปภาพ" ​ หรือ​ "ข้อมูล​ค้นคว้า" นี้​ ทางร้าน​ไม่อนุญาต​นำไปใช้โดย​ "พลการ"✨✨✨
 
ปรอทกรอ ล้านนา​ < Original​ >


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
ตู่ สาละวิน
โดย
vanglanna
ประเภทพระเครื่อง
เครื่องราง
ชื่อพระ
ปรอทกรอ ล้านนา​ < Original​ >
รายละเอียด
ปรอทกรอเครื่องรางเตือนภัยล้านนา

ปรอทกรอล้านนา หรือ ทางเหนือเรียกกว่า "หน่วยบะป่อย"นั้นเป็นหนึ่งในเครื่องรางล้านนาที่ถือได้ว่าเป็นยอดเครื่องราง​ อันทรงค่าหายาก พบเจอได้น้อยชิ้น

มีทั้งความเชื่อ​ ในทางด้าน​ ศาสนา​
และความเชื่อทางด้าน​ กลยุทธ์​ การศึก​สงคราม​โบราณ​

ความเชื่อในด้าน​ศาสนา​

สมัยโบราณนั้นก็คือการสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว​ จิตใจ​ เชื่อกันว่า​ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์​ สิงสถิต​อยู่ในนั้น​ ใช้ฝัง​ ต้านฐานอุโบสถ​ หรือ​ ศาสนสถาน​ สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา​
เชื่อในเรื่อง​ป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งปวง รวมถึงโจรผู้ร้ายที่คิดจะมาขโมยของในวัดเมื่อมีขโมยหรือสิ่งผิดปกติเข้ามาปรอทกรอก็จะส่งเสียงดัง...

ความเชื่อด้าน​ กลยุทธ์​ ทางการศึกการสงคราม​

อีกในหนึ่ง​ จุดประสงค์​ คนโบราณ​ การจัดสร้าง​

ปรอทกรอ​ มักใช้ในกลศึก​ เป็น​ เครื่องมือ​ หรือ​ เครื่อง​ราง​เตือนภัย​ ในยุคสงคราม​ ปรอทกรอจะทำหน้าที่​ "สั่น​ " เมื่อมีภัยเข้ามาประชิด​

ปรอทกรอ​ สั่นสะเทือน​ได้ไหลลื่นเสียงดังยาว​ แปลว่า : ข้าศึกมีจำนวนค่อนข้างเยอะ​ และเข้าประชิดใกล้เข้ามามาก

ปรอทกรอสั่นเสียง​ไม่ดังมาก​ แปล​ว่า​: ข้าศึกมีจำนวนค่อนข้างน้อย​ และอยู่​ไกล
เพื่อเป็น​สัญญาณ​ เตือนภัย​ ว่าข้าศึกมีจำนวนมากหรือน้อย​ หรือ​อยู่ไกลหรือใกล้.. นั่นเองครับ

จากคำบอกเล่า​ จากชาวบ้าน, ผู้เฒ่าผู้แก่​ ชาวล้านนา​ และ หลากหลายสถานที่

หยิบยก​มาเขียน​มาเพื่อเล่าสู่กันฟัง​ กันน่ะครับ..

ปรอทกรอ​ภายในลูกปรอทกรอนั้นว่ากันว่าเป็นของวิเศษกายสิทธิ์จำพวกเหล็กไหล หรือปรอทเรียก หรือ ปรอทสำเร็จ ที่พระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมได้เอาเป็นส่วนผสมของลูกกลมเล็กๆด้านในปรอทกรอ โดยนำเอามาหุงและหล่อเป็นลูกปรอทกายสิทธิ์ ฉะนั้นเวลาเขย่าปรอทกรอจะมีเสียงคล้ายมีกริ่งอยู่ข้างในปรอทกรอนั่นก็คือลูกกลมเล็กๆที่ว่านี่เอง...

สำหรับที่ค้นพบปรอทกรอนั้น​ ส่วนมากจะพบเป็นเคยเป็นบริเวณวัดเก่า หรือ ที่คนทางเหนือล้านนาเรียกว่า วัดร้าง หรือ วัดห่าง หรือ​ เมืองเก่า​ ที่รกร้าง ศาสนสถาน​ที่สำคั​ญ​..
บ้างจะพบโดยบังเอิญจากการขุดพบจากการขุดที่
ถมที่, ทำการเกษตร​บ้าง, บ้างก็ฝนตกหลายวัน​ ตกหนักๆๆ​ ซะล้างหน้าดินเปิด​ ก็จะพบเจอ​อะไรแนวนี้ครับผม​..
การพบเจอก็​ผ่านกาลเวลา​ ร่วม​ หลายสิบปี​ ที่เจ้าของ​พบเจอมา
และบางท่านก็ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย​ เก็บบูชา​ ​ สืบทอด​ กันมา​จากรุ่นสู่รุ่น จนถึง​ปัจจุบัน​นี้​

อ่า​ ^^^อ่าน พอสนุก​ นะครับ.​ ​^^^

ปัจจัย​ เหล่านี้​ บ่งบอกถึง​ การสร้าง​ ได้เป็น​อย่างดี..

ยุคสมัย​ ที่พบเจอ​ ปรอทกรอ..

– สมัยก่อนสุโขทัย ( ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – พุทธศตวรรษที่ 17 )
– สมัยสุโขทัย พ.ศ.1792 – พ.ศ.2006
– สมัยอยุธยา พ.ศ.1893 – 2310
– สมัยธนบุรี พ.ศ.2310 – 2325
– สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน

วิธีการใช้ : ใช้ห้อยคอหรือ พกพาติดตัว(ไม่ควรต่ำกว่าระดับเอว) ใส่พานบูชา หิ้งพระ​ หรือ บรรจุบนหัวเสาเรือน

อาณุภาพ : คนสมัยก่อนเชื่อกันว่าปรอทกรอจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้ และป้องกันสิ่งอัปมงคลทั้งปวง เตือนเมื่อมีภัย บูชาไว้เป็นสิริมงคลให้ลาภ และคุ้มกันบ้านเรือนและผู้อาศัย เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งปวง..

(ยกตัวอย่าง)

เมืองโบราณ​ เช่น เมืองหอดโบราณ ตั้ง​ อยู่​ อ.ฮอด​ ​จ.เชียงใหม่​ ตั้งอยู่​ หัวเมืองด้านนอก
ซึ่ง​ ตั้งอยู่​ ไกล​ จาก​ ตัวอำเภอ​ ถึง​ 90​ กม.​
ยิ่งสมัยก่อน​ การคมนาคม​ การเดินทางก็​ ค่อนข้างที่จะลำบาก​ เดินด้วยเท้าบ้าง​, เดินทางด้วยม้าบ้าง​, เดินทางด้วยช้างบ้าง​ การเดินทาง​ค่อนข้างลำบาก​ อะไรประมาณ​นี้​ น่ะครับ... ยิ่งหัวเมืองห่างไกล​ ก็ต้องมีความเจริญ​ ที่น้อยกว่า​ ในเมือง​....
การสร้างปรอทกรอ​ ทั้งวัสดุก่อสร้าง​ หรือ​ ระบบกลไก​
ก็​ จะได้​ ตามนี้​ ..

เราหยิบยกตัวอย่าง​ มา​ แบบ​ เรียบง่าย​ เข้าใจ​ ได้พอสังเขป...

ปรอทกรอ​ มีระบบ​ และ ปรอท​กรอ​แบบไม่มีระบบ​ ต่างกันยังไง

วัดหลายวัด คนโบราณ เชื่อกันว่าหนึ่งวัดได้บรรจุของวิเศษแทนคนรักษาวัดวาอารามของวิเศษนี้ชื่อว่า "ปรอทกรอ" บรรจุไว้ใต้ฐานวิหาร หรือ อุโบสถ "วัดละหนึ่งลูกเท่านั้น" อันนี้พิเศษ​ หน่อย​ ถ้าเป็น​ "วัดหลวง​" วัดที่มีขนาดใหญ่​ ก็จะมีด้วยกัน​ 4​ ลูก​, 6ลูก​ ด้วยกัน​ ครับผม..หรือศาสนสถาน​ ที่สำคัญ​ทางศาสนา​ แต่ละสถานที่​ มีฝัง​ ไม่สามารถ​ ระบุได้​ ว่ามี​ กี่ลูก..
เพราะว่า​ บางหัวเมืองที่ห่างไกล​ , บางเมืองใกล้ บางเมือง​ เล็ก​, ใหญ่​ ไม่เท่ากัน​ ขึ้นอยู่กับ​ นี้ปัจจัย​ เหล่านี้ด้วย....

คนสมัยโบราณทางด้าน​ ศาสนา​ เชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง
เช่น​ เทพ, เทพารักษ์​, เทวดา​, เหล็กไหล, ปรอทสำเร็จ, บ้างก็เล่ากันนั่นนี่​ หลากหลาย​ ต่างๆ​ นานา​...
จนผม​ ผู้เขียน​ ถ้าเขียน​ไป​ เดี๋ยว​หาว่า over​ ไปป่ะ​ 555..
เอาเป็นว่า​ เชื่อว่า​ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์​ ในปรอกรอ​ นั้น​ น่ะครับ

คนโบราณจึงเชื่อกันว่ามีสิ่งวิเศษของดีปกป้องภัย เช่น กันภูตผีปีศาจร้าย กันขโมย สร้างความร่มเย็นเป็นสุขแก่ศัทธาลูกวัด ตามความเชื่อแต่ครั้งโบราณ เป็นต้น
สันนิษฐานว่าน่าเป็น "ของวิเศษใช้ปกป้องคุ้มครองภัย"

วัสดุที่พบเจอ​ แบ่งเป็นแต่ละชนิดๆ ดังนี้

1. ปรอทกรอทองคำ
2.ปรอทกรอเนื้อเงิน
3.ปรอทกรอสำริดแก่ทองคำ
4.ปรอทกรอเนื้อสำริด
5.ปรอท​กรอ​เนื้อตะกั่ว
6.ปรอท​กรอเนื้อดินเผา(พบเห็น​น้อยมาก)

และแบ่งเป็นขนาดๆ ที่พบเห็น คือ

1.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2เซนติเมตร
2.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้ว
3.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด1นิ้วครึ่ง
4.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด2นิ้ว
5.เส้นผ่าศูนย์กลาง​ขนาด​ 2นิ้วครึ่ง​(พบเห็นน้อยมาก)

ขนาดของปรอทรอ  อาจจะไม่ระบุขนาดชัดเจน​ อันนี้​ ขึ้นกับ​ ยุคสมัย​ และ​ ภูมิประเทศ​ ที่พบเจอ​..

ยกตัวอย่าง​ : เส้นผ่าศูนย์กลาง​  2 ซม.​ 
อาจจะ​ 1.8​ ​ซม.​ , 1.9​ ซม.​ น้อยกว่า​ หรือ​ 2.1 ซม. , 2.2​ ซม. มากกว่า ก็​ เป็น​ไปได้​...

ทั้งน้ำหนัก​ มีหล่อหนา​ หรือ​ หล่อบาง​  แล้วแต่​ ส่วนผสมก็​ เป็น​ปัจจัย​ ในการสร้างใน​แต่ละ​ สถานที่ไป ...

การสร้างปรอทกรอ คนโบราณสร้างกลไกที่สุดยอดที่คนปัจจุบันสร้าง ที่ทำเลียนแบบไม่ได้

ปรอทกรอที่เสียงดังไหลลื่น คือ ปรอทกรอที่ไม่ตายจะมีเสียงดังดีไหลลื่นตลอดเป็นเวลานานๆ ส่วนมากแผ่นการเวลามานานบวกกับสภาพผิวของเมืองหรือวัดบางที่อาจสร้างอยู่ลุ่มน้ำ ทำให้แช่น้ำเป็นเวลานานๆ หรือขึ้นอยู่กับสภาพผิวดินในแต่ละที่ๆ เสียงดังไม่ดี เมืองที่มีความเจริญมาก เช่น "วัดหัวเมือง" ก็จะสร้างปรอกรอ เช่น ปรอทกรอทองคำ รองมาเป็นระดับๆ จนถึงปรอทกรอดินเผาซึ่งพบเห็นน้อยที่สุดมีก็ไม่สมบูรณ์ ข้อมูลความรู้จากนักสะสมของเก่า​ และชาวบ้าน​ คนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่​ ชาวล้านนา.. นำมาเล่าสู่กัน​ฟัง​

ปรอทกรอเป็นเครื่องรางของขลังยุคโบราณที่หายากมากชนิดหนึ่งมีสร้างขึ้นตั้งแต่​ หลายยุคสมัย​ อีกทั้งยังถือเป็นยุทธโธปกรณ์ทางการทหารในสมัยโบราณ​ และความเชื่อทางด้านศาสนา​ อีกด้วย

ปัจจุบันเป็นเครื่องราง"เตือนภัย" แก่ผู้เป็นเจ้าของ และป้องกันสิ่งชั่วร้ายสิ่งอัปมงคลต่างๆ ทั้งยังเด่นด้านเมตตา​มหา​นิยม​และนำโชคลาภความร่มเย็นเป็นสุขแก่ผู้ครอบครอง

ผมเองได้เคยเห็น ปรอทกรอที่ชำรุด เห็น ฟันเฟืองคล้ายหวี ซ้อนกัน มีลูกโลหะมีลักษณะทรงเหลี่ยม นับแล้วมี 38เหลี่ยม แล้วมีการเชื่อม เข้าหากันเป็นรูปทรงกลม การเชื่อมมักใช้การเชื่อมแบบคนโบราณด้วยการประสานด้วยโลหะเงินบริสุทธิ์..

.คนโบราณมักมีความเชื่อ เรื่อง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอยู่ในนั้น ต่างมีความเชื่อแตกต่าง นานา .....ถึงเครื่องรางเตือนภัยนี้

ผมเองยังเคยถามผู้รู้หลายๆท่าน บอกในแต่ละเนื้อ พบเจอแตกต่างกันไป และยัง มักจะพบเจอเมื์องที่มี ความเจริญ...แล้ว ไล่เรียง..กันมา บ้างก็ ว่า แล้วแต่ สถานที่ อาจมีการแลกเปลี่ยน ซื้อ-ขาย .. ภาวะแปรเปลี่ยนไม่เหมือนกัน และ ยังมีผิว แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ ว่า สถานที่นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาบ้างก็ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน และชั้นดิน

บ่งบอกถึงยุคกาลเวลา ทำให้แต่ละชิ้นนั้นไม่เหมือนกัน บ้างก็เขย่าแล้วเสียงดังไหลลื่นดี บ้างก็เขย่าแล้วไม่ค่อยดังดีก็มี ในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละที่ที่.. ได้สอบถามมา....ล้วน เชื่อเป็นคำตอบเดียวกันทุกที่กระผมเคยสอบถามเจ้าของคนหนึ่ง ป้าป้า ลูกนี้ป้ามีไว้ทำอะไร มีไว้ทำไม ?

.....ป้า นั่งนิ่ง แล้วบอกว่าเก็บกันมานานแล้ว พ่อเคยเป็นพ่อหมอ (เหนือ เรียก พ่อหนาน) มาก่อน แต่ผมสังเกตุโดยรอบ รวมๆแล้ว บ้านเค้าค่อนข้างมีฐานะดี ...ป้าตอบ พ่อเคยบอกไว้ว่า..เก็บไว้แล้วอยู่เย็นเป็นสุข ร่มเย็น และทั้งหมู่บ้าน ไม่เกิดอาเพศ และเภทภัยอันตรายใดๆ มากล่ำกลาย มนต์เสน่ห์เครื่องรางเตือนภัยโบราณ อันดับหนึ่ง.....

ปล. ขออนุญาติ หยิบยก ประวัติความเป็นมาจากมาจาก เจ้าของเดิม ลุง ป้า น้า อา และชาวบ้านเมืองเหนือ ที่มอบเครื่องรางอันสูงค่า และความรู้ และสิ่ง ดีดี ที่ คนปัจจุบัน... นี้ มิ ได้ หาได้แล้ว ...

. ขอยกพุทธคุณ.. แห่งสุดยอดเครื่องรางเตือนภัยโบราณ.. นี้ ..ปกปักรักษาท่าน และ คุ้มครอง ป้องกันภัย หนุนนำ เสริมดวง เสริมอำนาจวาสนา สร้างความเจริญก้าวหน้าในชีวิต มาให้ ทุกท่าน. ล้วนมีแต่ความสุขความเจริญ ด้วยเทอญ....สาธุ

ชิ้นนี้ได้มีขาด 2.0ชม. เนื้อสำริด มีจ่ารกำกับมาด้วย เขย่ามีเสียงดัง ลูกนี้ชิ้นนี้ บ่ มี พลาด..

ข้อมูลท้องถิ่น พื้นบ้านชาวไทยใหญ่ และชาวล้านนา : ตู่ สาละวิน


"รูปภาพ" และ​ "บทความ" นี้​ ไม่อนุญาต​ ให้​นำไปใช้​โดย​ "พลการ"

                               เรียบเรียง​เขียน​ และ​ ค้นคว้าข้อมูล​
                                                ตู่​ สาละ​วิน​






ราคา
เพื่อการศึกษา
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
086-9210443
ID LINE
tou​salawin​
จำนวนการเข้าชม
13,179 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารทหารไทย / 322-2-62235-3